,

,

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 16

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 16
วันอังคาร  ที่ 18  กุมภาพันธ์  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




อาจารย์ให้มารับข้อสอบ





บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 15

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 15
วันอังคาร  ที่ 11  กุมภาพันธ์  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




**  ไม่ได้เข้าเรียน  
เนื่องจากติดสอบวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย





บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 14

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 14
วันอังคาร  ที่ 4  กุมภาพันธ์  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ





           กิจกรรมการเรียนการสอน

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


Down's  syndrome
- รักษาตามอาการ
- แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
- ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม

1. ด้านสุขภาพอนามัย
       บิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก  ติดตามการรักษาเป็นระยะ

2. การส่งเสริมพัฒนาการ
       เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม

3. การดำรงชีวิตประจำวัน
      ฝึกช่วยเหลือตนเองให้มาที่สุด

4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
       - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์  เช่น การฝึกพูด  กายภาพบำบัด  กิจกรรมบำบัด
       - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล  ( LEP )
       - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม  เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
       - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ

การปฏิบัติของบิดามารดา
       - ยอมรับความจริง
       - เด็กกลุ่มอารดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
       - ให้ความรักและความอบอุ่น
       - การตรวจภายใน  ตรวจหามะเร็งปากมดลูกและเต้านม
       - การคุมกำเนิดและการทำหมัน
       - การสอนเพศศึกษา
       - ตรวจโรคหัวใจ

การส่งเสริมพัฒนาการ
      - พัฒนาทักษะด้านต่างๆ  เช่น  คณิตศาสตร์และภาษา
      - สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
      - สังคมยอมรับมากขึ้น ไปโรงเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
      - ลดปัญหาพฤติกรรม
      - คุณภาพชีวิตดีขึ้น


Autistic

ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
     - ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูและช่วยเหลือเด็กออทิสติก

ส่งเสริมความสามารถเด็ก
     - การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
     - ทำกิจกรรมที่หลากหลาย

การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
     - เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
     - การให้แรงเสริม

การฝึกพูด
     - โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและสื่อความหมายล่าช้า
     - ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่จะพัฒนาการด้านภาษาใกล้เคียงเด็กปกติก็จะเพิ่มมากขึ้น
     - ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
     - ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
     - การสื่อความหมายทดแทน  ( AAC )

การสื่อความหมายทดแทน  ( Augmentative and Alternative Communication ; AAC )
     - การรับรู้ผ่านการมองเห็น  ( Visual Strategies )
     - โปรแกรมการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร  ( Picture Exchange Communication System ; PECS )
     - เครื่องโอภา  ( Communication Devices )
     - โปรแกรมปราศัย

การส่งเสริมพัฒนาการ
    - ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
    - เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา  การมีสมาธิ  การฟัง  และทำตามคำสั่ง
    - ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร  สังคม  และการปรับพฤติกรรม

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
     - เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม  การสื่อการ  และทักษะทางความคิด
     - แผนการจักการศึกษาเฉพาะบุคคล
     - โรงเรียนร่วม  ห้องเรียนคู่ขนาน

ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
     - ทักษะในชีวิตประจำวันและการฝึกฝนทักษะสังคม
     - ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด

การรักษาด้วยยา
    - Methylphenidate  ( Ritalin )  ช่วยลดอาการไม่นิ่ง / ซน / หุนหันพลันแล่น / ขาดสมาธิ
    - Risperidone / Haloperidol  ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง  หงุดหงิด  หุนหันพลันแล่น  พฤติกรรมซ้ำๆ  พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
    - ยาในกลุ่ม  Anticonvulsant  ( ยากันชัก )  ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง

การบำบัดทางเลือก
   - การสื่อความหมายทดแทน  ( AAC )
   - ศิลปกรรมบำบัด  ( Art Therapy )
   - ดนตรีบำบัด  ( Music Therapy )
   - การฝังเข็ม  ( Acupuncture )
   - การบำบัดด้วยสัตว์  ( Animal Therapy )

พ่อแม่
    - ลูกต้องพัฒนา
ได้
    - เรารักลูกของเราไม่ว่าเข้าจะเป็นอย่างไร
    - ถ้าเราไม่รักและใครจะรัก
    - หยุดไม่ได้
    - ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
    - ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
    - ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว









บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 13

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 13
วันอังคาร  ที่ 28  มกราคม  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




** สอบกลางภาคในคาบเรียน **







บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 12

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 12
วันอังคาร  ที่ 21  มกราคม  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




กิจกรรมการเรียนการสอน


           พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

                 พัฒนาการ  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ โดยทั่วไปพัฒนาการปกติแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย  พัฒนาการด้านสติปัญญา  พัฒนาการด้านจิตใจ - อารมณ์  พัฒนาการด้านสังคม

                 เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  หมายถึงเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากวาเด็กปกติในวัยเดียวกัน พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านหรือทุกด้าน และพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลในพัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้


               ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก

ปัจจัยทางด้านชีวภาพ  เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรม
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด  การติดเชื้อ  สารพิษ  สภาวะทางโภชนาการ
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด
ปัจจัยทางด้านสภาวะแวดล้อมหลังคลอด  สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมต่อพัฒนาการของเด็ก


            สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. โรคทางพันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ
4. การผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะเกิด
6. สารเคมี
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร


           อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  มีพัฒนาการล่าช้าอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน


          แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4. การประเมินพัฒนาการ


             แนวทางในการดูแลรักษา

1. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการล่าช้า
2. การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
3. การรักษาสาเหตุโดยตรง
4. การส่งเสริมพัฒนาการ
5. ให้คำปรึกษากับครอบครัว


               สรุปขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. การตรวคิดกรองพัฒนาการ
2. การตรวประเมินพัฒนาการ
3. การให้การวินิจฉัยและสาเหตุ
4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ


                บริการที่สำคัญสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. การตรวจการได้ยิน
2. การให้คำปรึกษาครอบครัว
3. การจัดโปรแกรมการศึกษา
4. บริการทางการแพทย์
5. บริการทางการพยาบาล
6. บริการด้านโภชนาการ
7. บริการด้านจิตวิทยา
8. กายภาพบำบัด
9. กิจกรรมบำบัด
10. อรรถบำบัด


อาจารย์ให้วาดรูปตามแบบ




              - อาจารย์ให้นำเสนองานต่อให้เสร็จอีก 2 กลุ่ม มีเรื่อง ดาวซินโดม และ ออทิสติก
              - อาจารย์นัดสอบในสัปดาห์หน้า









บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 11

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 11
วันอังคาร  ที่ 14  มกราคม  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมือง
หมายเหตุ ต้องหาเวลาชดเชย 1 วัน







บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 10

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 10
วันอังคาร  ที่ 7  มกราคม  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




กิจกรรมการเรียนการสอน

                - อาจารย์ให้พรีเซ็นงานและแจกใบประเมินการรายงานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม
                - อาจารย์แจกชีส พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


กลุ่ม 1 เรื่องสมองพิการ
            
             สาเหตุ
1. มีความผิดปกติเกิดขึ้นตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา เช่น มารดาเป็นโรคหัดเยอรมัน  มารดาขาดอาหารอย่างรุ่นแรง  เป็นต้น เป็นผลให้สมองมีการเจริญเติบโตผิดปกติ
2. เด็กคลอดยาก
3. มีอาการดีซ่านอย่างรุ่นแรงในระยะหลังคลอด
4. เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคทางสมอง

           อาการ

- มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติ
- กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวมาก
- มีความเคลื่อนไหวผิดปกติ




กลุ่ม 2 เรื่องเด็ก LD

              สาเหตุ
- การได้รับบาดเจ็บทางสมอง
- พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อม

             ประเภทของ LD
1. LD ด้านการเขียนสะกดคำ
2. LD ด้านการอ่าน
3. LD ด้านการคำนวณ
4. LD หลายๆ ด้านรวมกัน

            อาการ
- แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
- มีปัญาหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
- เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้ายขวา
- สมาธิไม่ดี
- ทำงานช้า
- ฟังคำสับสน





กลุ่ม 3 สมาธิสั้น  ไฮเปอร์

           สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของสมองแต่ระบุไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใดที่ทำให้สมองผิดปกติ

          อาการ
1. อาการซนมากกว่าปกติ
2. อาการสมาธิสั้น หรือไม่มีสมาธิ
3. อาการหุนหันพลันแลน

         การักษา
1. จัดตารางชีวิตให้เป็นระบบ
2. เลือกกิจกรรมให้เหมาะสม
3. ทำงานบ้าน
4. สอนแบบค่อยเป็นค่อยไป
5. ให้เวลา
6. จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม